สำหรับการปลูกสร้างบ้าน โดยเฉพาะการสร้างบ้านในเขตพื้นที่ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของ อบต. เทศบาล หรือเขตการปกครองอื่น ๆ จะต้องยื่นแบบขออนุญาตปลูกสร้างตาม พรบ.ควบคุมอาคารจากหน่วยงานเหล่านี้เสียก่อน โดยผู้ที่ต้องการปลูกสร้างบ้านมีแบบบ้านที่ต้องการอยู่แล้ว ก็สามารถว่าจ้างสถาปนิกเขียนแบบบ้านตามแบบที่ต้องการ แล้วนำไปยื่นแบบขออนุญาตตามขั้นตอนได้เลย กรณีไม่มีแบบบ้านไว้ก่อน ควรเตรียมตัวอย่างไร บทความนี้มีคำแนะนำ
การออกแบบบ้านที่ไม่ต้องมีวิศวกรเซ็นรับรองแบบ
การปลูกสร้างบ้านในที่ดินของตนเอง หากมีแบบบ้านที่เราต้องการไว้แล้ว ก็ไม่ต้องยุ่งยากเพียงนำแนวคิดและรูปแบบที่ต้องการแจ้งให้สถาปนิคที่รับเขียนแบบ ก็จะได้แบบบ้านตามที่ต้องการ ส่วนกรณีที่ไม่ต้องการว่าจ้างสมาปนิกและวิศวกรไม่ต้องเซ็นแบบแต่สามารถขออนุญาตปลูกสร้างได้ ทำได้ไม่ยากเพียงปฎิบัติตามรายละเอียด ต่อไปนี้
- ปลูกสร้างบ้าน 1-2 ชั้น พื้นที่ใช้สอยไม่เกิน 150 ตร.ม การปลูกสร้างบ้านในลักษณะนี้ แบบบ้านที่ขออนุญาตก่อสร้างไม่ต้องมีวิศวกรหรือสถาปนิกเซ็นรับรองแบบบ้านก็ได้
- ช่วงคานไม่ถึง 5 เมตร วิศวกรไม่ต้องเซ็นก็ขออนุญาตก่อปลูกสร้างได้ โดยปกติหากเป็นการปลูกสร้างบ้านเรือนทั่วไปนิยมออกแบบช่วงคานประมาณ 4 เมตร ซึ่งเป็นขนาดมาตรฐาน หากช่วงคานยาวมากกว่านี้ มีมีขนาด 5 เมตรขึ้นไป อาจส่งผลให้เกิดอันตรายได้หากผู้ก่อสร้างไม่มีความรู้ด้านวิศวกรรม กฎหมายจึงได้ระบุไว้ว่า หากช่วงคานยาว 5 เมตรขึ้นไปต้องมีวิศวกรออกแบบและคุมงานก่อสร้าง
- ช่วงความสูงชั้นใดชั้นหนึ่งมีความสูงไม่ถึง 4 เมตร ขออนุญาตก่อสร้างได้ โดยไม่ต้องมีวิศกรเซ็นรับรองแบบ โดยทั่วไปการปลูกสร้างบ้านนิยมออกแบบให้พื้นจรดฝ้าเพดานมีความสูงประมาณ 2.6-3 เมตร ยกเว้นการปลูกสร้างลักษณะพิเศษ เช่น เป็นบ้านที่มีความสูงโปร่ง หรือเป็นบ้านชั้นครึ่งที่มีความสุงตั้งแต่ 4 เมตร จะต้องมีลายเซ็นรับรองจากวิศวกรผู้ออกแบบ หากสูงไม่ถึง 4 มตรก็สามารถขออนุญาตก่อสร้างได้เลย
การเตรียมข้อมูลให้วิศวกรเขียนแบบบ้าน
กรณีการปลูกสร้างบ้านในที่ดินของตัวเอง และเป็นบ้านที่มีขนาดพื้นที่ใช้สอยมากกว่า150 ตร.ม เป็นแบบบ้านที่วิศวกรต้องเป็นผู้เขียนแบบและเซ็นรับรองก่อนนำไปขออนุญาตปลูกสร้าง สิ่งที่เจ้าของบ้านต้องเตรียมข้อมูลให้วิศกรผู้เขียนแบบ ได้แก่
- เตรียมพร้อมเรื่องค่าใช้จ่ายในการเขียนแบบ ช่างหรือวิศกรแต่ละคนอาจคิดราคาค่าเขียนแบบที่แตกต่างกัน อาจสอบถามราคาที่เราพึงพอใจก่อนเป็นสิ่งแรก
- หากมีรูปภาพหรือแบบแปลนบ้านที่ต้องการอยู่แล้ว จะช่วยให้วิศกรเขียนแบบได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น แบบบ้านที่ได้เป็นไปตามที่ผู้ว่าจ้างต้องการ
- รู้ขนาดพื้นที่ที่ต้องการปลูกสร้าง
- มีรายละเอียดแบบแปลนบ้านที่ต้องการ เช่น จำนวนห้องนอน ห้องน้ำ มีห้องนักเล่น ห้องครัว แบบไหนอย่างไร เป็นบ้านขั้นเดียวหรือสองชั้น
- วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างพื้นฐาน เช่น หลังคามุงกระเบื้อง สังกะสี หรือเมทัลชีท
สรุป การออกแบบบ้านสำหรับคนที่กำลังคิดจะปลูกสร้างบ้าน แบบบ้านแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะได้แก่ แบบบ้านที่ใช้ขออนุญาตปลูกสร้าง โดยไม่มีต้องมีวิศกรเซ็นรับรองแบบ แต่ต้องเป็นไปตามระเบียบหรือข้อกำหนดของกฎหมาย และแบบบ้านที่ต้องมีวิศกรเซ็นรับรอง ซึ่งผู้ปลูกสร้างต้องจัดเตรียมข้อมูลต่างๆให้กับช่างหรือวิศกรผู้ออกแบบ โดยค่าใช้จ่ายในการเขียนแบบขึ้นอยู่กับข้อตกลง