การสร้างบ้าน

ภูมิปัญญาการสร้างที่อยู่อาศัยของชาวใต้ ครูกฤษฎา วิสัยรัตน์ โรงเรียนสอาดเผดิม วิทยา จ.ชุมพร ในสมัยก่อน
จะมีลักษณะเป็นบ้านหรือเรือน ซึ่งเรียกกันโดยสำาเนียงภาษาใต้ว่า “เริน”

1. ตัวเรือน

ลักษณะของเรือนของชาวใต้มี 2 ลักษณะ คือ

  1. เรือนเครื่องสับ เป็นเรือนที่มีการก่อสร้างโดยใช้ไม้เนื้อแข็ง มาเข้าลิ้ม หรือ ใช้ตะปู เหมาะกับเรือนที่อยู่อาศัยถาวร ไม่มีการเคลื่อนย้าย
  2. เรือนเครื่องผูก เป็นเรือนไม้ที่มีการก่อสร้างใช้ลักษณะการผูก หรือ การมัด แล้วจึงมีวิวัฒนาการออกมาเป็นกระท่อมนั้นเอง

2. ตีนเสา

ถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวใต้เช่นกัน เพราะ มีหน้าที่ทำให้เรือนมีอายุยาวนานมากขึ้น เนื่องจากภาคใต้เป็นภาคที่มีฝนตกตลอดทั้งปี ตีนเสาจึงช่วยป้องกันความพื้นจากพื้นไม่ให้เข้าไปทำร้ายโครงสร้างอาคารนั่นเอง

3. ฟากปูพื้น

ก็คือโครงสร้างพื้นของเรือนเครื่องผูก ที่ยังช่วยระบายอากาศได้ดีมาก เนื่องจากมีการเรียงแบบเว้นช่องว่าง เพราะภาคใต้ถ้าเ้ขาสู่หน้าร้อน ก็ร้อนมากๆเช่น

4. ผนังไม้ไผ่สาน

คือผนังที่มีการเอาไม้ไผ่มาสานกัน นอกจากนั้นยังนับว่าเป็นภูมิปัญญาที่ต้องใช้ความปราณีตในการก่อสร้างมากๆ คุณสบบัติเด่นคือการระบายอากาศได้ดีอีกด้วย

5. วัสดุมุงหลังคา

ส่วนใหญ่จะใช้เป็นใบจาก หรือ สาคู ทั้งระบายอากาศ และ กันฝนได้ดี อายุการใช้งาน 2-3 ปี อาจจะดูน้อยแต่ในทางกลับกัน วัสดุสามารถหาได้ในในท้องถิ่น ราคาประหยัด แถมยังรักโลกอีกด้วย

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ปล่อยเช่าคอนโด อุปกรณ์การเกษตร ของพรีเมี่ยม